วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ต้นไม้

แฝดเหมือน


สื่อภาษาไทย

เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด
 
          เสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด คือ
๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้
๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร และ
๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี
 
          ๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น
- สระเดี่ยว มีจำนวน ๑๘ เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น
สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ
สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ
- สระประสม มีจำนวน ๖ เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็น
สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่
เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะ
เอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะ
อัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะ
สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่
เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอา
เอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอา
อัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา
 
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และจะได้จำง่าย พี่เลยจับเอาสระเดี่ยวและสระประสมทั้งหมด มาเขียนในรูปของตารางได้ดังต่อไปนี้
 
สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
สระเดี่ยว (๑๘ เสียง)
อะ
อิ
อึ
อุ
เอะ
แอะ
โอะ
เอาะ
เออะ
อา
อี
อื
อู
เอ
แอ
โอ
ออ
เออ
สระประสม (๖ เสียง)
เอียะ (อิ+อะ)
เอือะ (อึ+อะ)
อัวะ (อุ+อะ)
เอีย (อี+อา)
เอือ (อื+อา)
อัว (อู+อา)
 
          จากการที่สระเดี่ยวมี ๑๘ เสียง เมื่อรวมกับสระประสมอีก ๖ เสียง ก็จะพบว่ามีแค่เพียง ๒๖ เสียงใช่ไหมคะ? ทั้งที่ตอนเรียนมาคุณครูสอนว่าเสียงสระ มีทั้งหมด ๓๒ เสียง... อ้าวแล้วเสียงสระหายไปไหนอีก ๘ เสียงหล่ะเนี่ย ?
          คำตอบก็คือ... นอกจากเสียงสระทั้ง ๒๔ เสียงนี้แล้ว ยังมีรูปสระอีก ๘ รูป ที่ไม่รวมอยู่ในเสียงข้างต้น ซึ่งสาเหตุที่มันไม่ถูกรวมอยู่ด้วยก็เพราะ สระเหล่านี้มีเสียงซ้ำกับเสียงแท้นั่นเอง แถมยังมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย สำหรับสระ ๘ รูปจำพวกนี้เรียกว่า “สระเกิน” ได้แก่ “อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ”
          สระเกินทั้ง ๘ รูปนี้ พี่นำมาแจกแจงให้ดูว่าเกิดจากเสียงสระอะไร ประสมกับเสียงพยัญชนะอะไรบ้าง ลองมาดูกันค่ะ
อำ = อะ + ม (เกิดจากเสียงสระอะ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ม.ม้า)
ไอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระไอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)
ใอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระใอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)
เอา = อะ + ว (เกิดจากเสียงสระเอา ผสมกับเสียงพยัญชนะ ว.แหวน)
ฤ = ร + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอึ)
ฤๅ = ร + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอี)
ฦ = ล + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอึ)
ฦๅ = ล + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอี)
 
          ๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง ๔๔ รูป ดังต่อไปนี้
 
พยัญชนะ ๒๑ เสียง
พยัญชนะ ๔๔ รูป
๑.
๒.
๓.
๔.
๕.
๖.
๗.
๘.
๙.
๑๐.
๑๑.
๑๒.
๑๓.
๑๔.
๑๕.
๑๖.
๑๗.
๑๘.
๑๙.
๒๐.
๒๑.
ข ฃ ค ฅ ฆ
ช ฌ ฉ
ซ ศ ษ ส
ด ฎ
ต ฏ
ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ
น ณ
พ ภ ผ
ฟ ฝ
ย ญ
ล ฬ
ฮ ห

           ๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี ๕ เสียง ดังต่อไปนี้
เสียงวรรณยุกต์
รูปวรรณยุกต์
ตัวอย่าง
๑. เสียงสามัญ
๒. เสียงเอก
๓. เสียงโท
๔. เสียงตรี
๕. เสียงจัตวา
(ไม่มีรูป)
กิน ตา งง
ข่าว ปาก ศัพท์
ชอบ นั่ง ใกล้
งิ้ว รัก เกี๊ยะ
ฉัน หนังสือ เก๋
 
ทบทวนความรู้ : บอกเสียงของพยางค์ในประโยคต่อไปนี้
ประโยค
เสียงวรรณยุกต์
สามัญ
เอก
โท
ตรี
จัตวา
หัวล้านได้หวี
-
-
ได้
ล้าน
หัว / หวี
ดินพอกหางหมู
ดิน
-
พอก
-
หาง / หมู
แผ่นดินกลบหน้า
ดิน
แผ่น / กลบ
หน้า
-
-
ฝนตกขี้หมูไหล
-
ตก
ขี้
-
ฝน / หมู / ไหล
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
แตน
ขี่ / จับ
-
ช้าง / ตั๊ก
-
 
พยางค์ในภาษาไทย
          พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกครั้งหนึ่ง ๆ โดยเสียงนั้นจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ โดยเสียงที่เปล่งออกมา ๑ ครั้ง เรียกว่า ๑ พยางค์ หรือถ้าเปล่งเสียงออกมา ๒ ครั้ง เรียกว่า ๒ พยางค์ เช่น
ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด มีจำนวน ๔ พยางค์
สวรรค์ อ่านว่า สะ-หวัน มีจำนวน ๒ พยางค์

          องค์ประกอบของพยางค์ พยางค์หนึ่งจะประกอบด้วยเสียงอย่างน้อยที่สุด ๓ เสียง คือ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ (บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มอีก ๑ เสียง ซึ่งเรียกว่า “ตัวสะกด” ) เช่น คำว่า “ ทหาร” (อ่านว่า ทะ- หาน) ประกอบด้วย

- เสียงพยัญชนะต้น คือ ท.
- เสียงสระ คือ สระอะ (ทะ) และสระอา (หาน)
- เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ (ทะ) และเสียงจัตวา (หาน)
- เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ คือ หาน ซึ่งตรงกับมาตราตัวสะกด แม่ กน

แผนการเรียนรู้