
การจัดการเรียนรู้ โดยครูณัฏฐพล จักทอน
วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สื่อภาษาไทย
เสียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด
เสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด คือ
๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้
๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร และ
๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี
๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น
- สระเดี่ยว มีจำนวน ๑๘ เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็นสระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะสระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ- สระประสม มีจำนวน ๖ เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็นสระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะเอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะอัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะสระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอาเอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอาอัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และจะได้จำง่าย พี่เลยจับเอาสระเดี่ยวและสระประสมทั้งหมด มาเขียนในรูปของตารางได้ดังต่อไปนี้
สระเสียงสั้น (รัสสระ)
|
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
| |
สระเดี่ยว (๑๘ เสียง)
|
อะ
อิ
อึ
อุ
เอะ
แอะ
โอะ
เอาะ
เออะ
|
อา
อี
อื
อู
เอ
แอ
โอ
ออ
เออ
|
สระประสม (๖ เสียง)
|
เอียะ (อิ+อะ)
เอือะ (อึ+อะ)
อัวะ (อุ+อะ)
|
เอีย (อี+อา)
เอือ (อื+อา)
อัว (อู+อา)
|
จากการที่สระเดี่ยวมี ๑๘ เสียง เมื่อรวมกับสระประสมอีก ๖ เสียง ก็จะพบว่ามีแค่เพียง ๒๖ เสียงใช่ไหมคะ? ทั้งที่ตอนเรียนมาคุณครูสอนว่าเสียงสระ มีทั้งหมด ๓๒ เสียง... อ้าวแล้วเสียงสระหายไปไหนอีก ๘ เสียงหล่ะเนี่ย ?
คำตอบก็คือ... นอกจากเสียงสระทั้ง ๒๔ เสียงนี้แล้ว ยังมีรูปสระอีก ๘ รูป ที่ไม่รวมอยู่ในเสียงข้างต้น ซึ่งสาเหตุที่มันไม่ถูกรวมอยู่ด้วยก็เพราะ สระเหล่านี้มีเสียงซ้ำกับเสียงแท้นั่นเอง แถมยังมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย สำหรับสระ ๘ รูปจำพวกนี้เรียกว่า “สระเกิน” ได้แก่ “อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ”
สระเกินทั้ง ๘ รูปนี้ พี่นำมาแจกแจงให้ดูว่าเกิดจากเสียงสระอะไร ประสมกับเสียงพยัญชนะอะไรบ้าง ลองมาดูกันค่ะ
อำ = อะ + ม (เกิดจากเสียงสระอะ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ม.ม้า)ไอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระไอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)ใอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระใอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)เอา = อะ + ว (เกิดจากเสียงสระเอา ผสมกับเสียงพยัญชนะ ว.แหวน)ฤ = ร + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอึ)ฤๅ = ร + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอี)ฦ = ล + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอึ)ฦๅ = ล + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอี)
๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง ๔๔ รูป ดังต่อไปนี้
พยัญชนะ ๒๑ เสียง
|
พยัญชนะ ๔๔ รูป
| |
๑.
๒.
๓.
๔.
๕.
๖.
๗.
๘.
๙.
๑๐.
๑๑.
๑๒.
๑๓.
๑๔.
๑๕.
๑๖.
๑๗.
๑๘.
๑๙.
๒๐.
๒๑.
|
ก
ค
ง
จ
ช
ซ
ด
ต
ท
น
บ
ป
พ
ฟ
ม
ย
ร
ล
ว
ฮ
อ
|
ก
ข ฃ ค ฅ ฆ
ง
จ
ช ฌ ฉ
ซ ศ ษ ส
ด ฎ
ต ฏ
ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ
น ณ
บ
ป
พ ภ ผ
ฟ ฝ
ม
ย ญ
ร
ล ฬ
ว
ฮ ห
อ
|
๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี ๕ เสียง ดังต่อไปนี้
เสียงวรรณยุกต์
|
รูปวรรณยุกต์
|
ตัวอย่าง
|
๑. เสียงสามัญ
๒. เสียงเอก
๓. เสียงโท
๔. เสียงตรี
๕. เสียงจัตวา
|
(ไม่มีรูป)
่
้
๊
๋
|
กิน ตา งง
ข่าว ปาก ศัพท์
ชอบ นั่ง ใกล้
งิ้ว รัก เกี๊ยะ
ฉัน หนังสือ เก๋
|
ทบทวนความรู้ : บอกเสียงของพยางค์ในประโยคต่อไปนี้
ประโยค
|
เสียงวรรณยุกต์
| ||||
สามัญ
|
เอก
|
โท
|
ตรี
|
จัตวา
| |
หัวล้านได้หวี |
-
|
-
|
ได้
|
ล้าน
|
หัว / หวี
|
ดินพอกหางหมู |
ดิน
|
-
|
พอก
|
-
|
หาง / หมู
|
แผ่นดินกลบหน้า |
ดิน
|
แผ่น / กลบ
|
หน้า
|
-
|
-
|
ฝนตกขี้หมูไหล |
-
|
ตก
|
ขี้
|
-
|
ฝน / หมู / ไหล
|
ขี่ช้างจับตั๊กแตน |
แตน
|
ขี่ / จับ
|
-
|
ช้าง / ตั๊ก
|
-
|
พยางค์ในภาษาไทย
พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกครั้งหนึ่ง ๆ โดยเสียงนั้นจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ โดยเสียงที่เปล่งออกมา ๑ ครั้ง เรียกว่า ๑ พยางค์ หรือถ้าเปล่งเสียงออกมา ๒ ครั้ง เรียกว่า ๒ พยางค์ เช่น
ประวัติศาสตร์ อ่านว่า ประ-หวัด-ติ-สาด มีจำนวน ๔ พยางค์สวรรค์ อ่านว่า สะ-หวัน มีจำนวน ๒ พยางค์
องค์ประกอบของพยางค์ พยางค์หนึ่งจะประกอบด้วยเสียงอย่างน้อยที่สุด ๓ เสียง คือ เสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ (บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะท้ายเพิ่มอีก ๑ เสียง ซึ่งเรียกว่า “ตัวสะกด” ) เช่น คำว่า “ ทหาร” (อ่านว่า ทะ- หาน) ประกอบด้วย
- เสียงพยัญชนะต้น คือ ท.- เสียงสระ คือ สระอะ (ทะ) และสระอา (หาน)- เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ (ทะ) และเสียงจัตวา (หาน)- เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ คือ หาน ซึ่งตรงกับมาตราตัวสะกด แม่ กน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)